Monday, March 19, 2012

การรักษาประคับประคองโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ ต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่

1. การรักษาแบบประคับประคอง
ในสถานพยาบาลที่ไม่อาจให้เคมีบำบัดแนะนำให้ส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลขนาดใหญ่ที่มี
ความพร้อมมากกว่าทันทีหลังให้การรักษาประคับประคองให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว กรณีที่ผู้ป่วยมี
อาการหนักมากจนน่าจะเสียชีวิตในเวลาไม่นานนัก เช่น มีเลือดออกในสมองจำนวนมากจนผู้ป่วยไม่
รู้สึกตัว ควรพูดคุยชี้แจงให้ญาติทราบพยากรณ์โรคก่อนตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วย

การรักษาประคับประคองที่ควรทำได้แก่

การให้ส่วนประกอบของเลือด• ผู้ป่วยที่มีอาการซีดควรให้ packed red cells เพื่อรักษาระดับ hematocrit ที่ประมาณ 24-25% ใน
ผู้ป่วยที่อายุน้อย หากเป็นผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปหรือมีโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่เก่า ควร
รักษาระดับ hematocrit ที่ 28-30% กรณีที่จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงเกิน 100 x 109 /L ควรหลีกเลี่ยง
การให้เลือดไปก่อนเนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในสมองจากภาวะ hyperleukocytosis
อย่างไรก็ดี ผู้ป่วย ALL มีโอกาสเกิดภาวะ hyperleukocytosis น้อยกว่าผู้ป่วย ANLL ที่มีจำนวน
เม็ดเลือดขาวเท่าๆกัน
• ผู้ป่วยที่มีเกร็ดเลือดต่ำกว่า 10x109/L แม้ไม่มีเลือดออกก็ควรให้เกร็ดเลือดเข้มข้นเพื่อป้องกันการ
เกิดเลือดออกผิดปกติ หากมีเลือดออกผิดปกติระหว่างการให้เคมีบำบัดควรรักษาระดับเกร็ดเลือด
ให้เกิน 20x109/L ตลอดเวลา
• ในสถานที่ที่ทำได้ควรเลือกใช้ส่วนประกอบของเลือดที่เป็น leukocyte poor หรือ leukocyte
depleted เพื่อลดปัญหาการเกิด non-hemolytic transfusion reaction , cytomegalovirus
infection และ alloimmunization

การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีไข้ผู้ป่วยที่มีไข้ (อุณหภูมิกาย > 38oC ) ควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ส่ง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นเพื่อสืบค้นตำแหน่งของการติดเชื้อ รวมทั้งส่งเลือดไปเพาะเชื้อด้วย
หลังจากนั้นควรให้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ครอบคลุมกว้างขวางเข้าทางหลอดเลือดดำ (ดูตามแนวทาง
การรักษาผู้ป่วย febrile neutropenia)

การลดจำนวนเม็ดเลือดขาวเบื้องต้นผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงเกินกว่า 100x109/L แต่ยังไม่มีอาการของ leukostasis อาจลด
จำนวนเม็ดเลือดขาวลงได้บ้างด้วยการให้ corticosteroid กรณีที่จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมาก
(leukocrit > 10%) และผู้ป่วยมีอาการของ leukostasis อาจจำเป็นต้องทำ leukapheresis เพื่อลด
จำนวนเม็ดเลือดขาวลง การทำ leukapheresis หนึ่งครั้งจะลดจำนวนเม็ดเลือดขาวลงได้ 25-50%

การป้องกันภาวะ tumor lysis syndromeการป้องกัน tumor lysis syndrome ทำได้โดยให้สารน้ำให้เพียงพอ วันละอย่างน้อย 2-3 ลิตร
ร่วมกับให้ allopurinol 300 mg/d ควรระมัดระวังผลข้างเคียงของยากรณีที่ผู้ป่วยสูงอายุ มีโรคไตหรือ
โรคตับอยู่เดิมควรพิจารณาลดขนาดยาลง

No comments:

Post a Comment