Monday, March 19, 2012

การตรวจทางห้องปฏิบัติการมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆได้แก่
  1.  การตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและแยกชนิดย่อยของ ALL
  2.  การตรวจเพื่อประเมินภาวะทั่วไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา

การตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและแยกชนิดย่อยของ ALL

1. Complete Blood Count และการตรวจสเมียร์เลือดด้วยการย้อมสีไรท์เป็นการตรวจขั้นพื้นฐานที่สามารถทำได้ในโรงพยาบาลทั่วไป
แพทย์ทั่วไปสามารถให้การวินิจฉัยโรค acute leukemia ได้ไม่ยาก
เนื่องจากผู้ป่วยมักซีดและมีเกร็ดเลือดต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมาก
และส่วนใหญ่เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อน มีเพียงส่วนน้อยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำและไม่พบ
blast cells ในสเมียร์เลือด (aleukemic leukemia)

2. การตรวจไขกระดูก (bone marrow examination)แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไปที่ไม่สามารถให้การรักษา
ด้วยเคมีบำบัด ไม่จำเป็นต้องทำการเจาะไขกระดูกผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน
เพียงให้การรักษาเบื้องต้นให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ปลอดภัยพอสมควร
แล้วส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่สามารถให้การรักษาจำเพาะแก่ผู้ป่วยได้ก็เพียงพอแล้ว
ในสถานพยาบาลที่สามารถให้การรักษาจำเพาะด้วยเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยได้การเจาะไขกระดูกตรวจควร
ทำการส่งตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและแยกชนิดย่อยของ ALL การตรวจเหล่านี้มีความสำคัญและ
จำเป็นต้องทำเนื่องจากทำให้สามารถบอกพยากรณ์โรคมีผลต่อการเลือกการรักษา
ที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย เมื่อทำการเจาะไขกระดูกควรส่งตรวจดังนี้
• ย้อมสีไรท์เพื่อดู morphology
• ย้อมสี cytochemistry มีประโยชน์ในการแยก ALL จาก ANLL เนื่องจากในเซลล์
lymphoblast มักไม่ติดสี myeloperoxidase (MPO) พบเพียงประมาณ 3-5% เท่านั้นที่
ย้อมติดสี MPO เพียงเล็กน้อย
• ตรวจ immunophenotype การตรวจนี้มีความสำคัญและให้ประโยชน์ในการแยกชนิด
ย่อยของ ALL อย่างชัดเจน ทั้งนี้การตรวจ immunophenotype ทำได้หลายวิธี marker ที่
สำคัญที่ช่วยในการแยก ALL จาก ANLL ได้แก่ terminal deoxynucleotidyl transferase(TdT)
• การตรวจโครโมโซม (cytogenetic evaluation) มีความจำเป็นและสำคัญในการบอก
พยากรณ์โรครวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการรักษาที่ผู้ป่วยควรได้รับ

3. การตรวจระดับยีน (molecular genetics evaluation)การตรวจระดับยีนนอกจากจะมีประโยชน์ในการช่วยแยกชนิดของ ALL และบอกพยากรณ์โรค
แล้วยังมีประโยชน์ในการติดตามโรคหลังการรักษา สามารถทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของ
โครโมโซมที่สามารถทำการตรวจระดับยีนได้ เช่น มี Philadelphia chromosome positive สามารถตรวจ
Bcr/Abl ด้วยเทคนิค PCR เป็นต้น
การตรวจเพื่อประเมินภาวะทั่วไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา
ควรส่งตรวจดังต่อไปนี้ในผู้ป่วยทุกรายก่อนเริ่มให้การรักษาด้วยเคมีบำบัด
• CBC & platelet count
• การตรวจทางชีวเคมีเลือด : FPG, BUN, Cr, LFT, LDH, Ca++, PO4, electrolytes, uric acid
• Coagulation studies/D-dimer
• Chest X-rays
• HBs Ag, anti HCV, anti HIV,
• Urine, stool examination
• EKG
• Type and screening for cross-match


นอกเหนือจากนี้แล้วยังอาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆเพิ่มเติมอีกได้ในผู้ป่วยที่มีอาการทาง
คลินิกบ่งชี้ หรือมีสภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินนั้นๆ ในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 45 ปีหรือมี
ประวัติโรคหัวใจ หรือตรวจร่างกายพบความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดควรได้รับการตรวจ
echocardiography หรือ MUGA scan เพื่อตรวจการบีบตัวของหัวใจ (cardiac ejection fraction ) ก่อน
เริ่มเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่คาดว่ามีโอกาสต้องรับการรักษาต่อโดยการปลูกถ่ายไขกระดูก
ควรทำการตรวจ HLA typing ทั้งของผู้ป่วยและญาติเอาไว้
ในผู้ป่วยสตรีที่ผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้งหรือผู้ป่วยที่ผ่านการ
ได้รับเลือดมาก่อนหลาย unit หากสามารถทำได้ควรส่งตรวจหา lymphocytotoxic antibody เอาไว้ด้วย
แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้น

No comments:

Post a Comment