Monday, March 19, 2012

การแยกชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ ต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ ALL

การแยกชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ ต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ ALL

การแยกชนิดของ ALL จัดแบ่งได้หลายแบบดังนี้

1. Morphological classification
จัดแบ่ง ตาม FAB classification6 โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม
ตามลักษณะของเซลล์จากการย้อมด้วยสีไรท์ ร่วมกับผลการตรวจทาง cytochemistry
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม การตรวจดูลักษณะของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์
และตรวจทาง cytochemistry มีประโยชน์ในการวินิจฉัย ALL ในเบื้องต้น
แต่การแยกชนิดว่าเป็น L1 หรือ L2 ไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก
เนื่องจากไม่สัมพันธ์กับ immunophenotyping และการพยากรณ์โรคแต่อย่างใด
สำหรับ L3 พบว่ามักเป็นเซลล์ในสาย B-lineage (B-ALL)
ชนิดเดียวกับที่พบใน Burkitt’s lymphoma
ซึ่งในเกณฑ์การวินิจฉัยใหม่ของ WHO จัดไว้เป็นโรคเดียวกัน

อย่างไรก็ดียังอาจพบผู้ป่วย ANLL บางรายมีลักษณะของเซลล์คล้าย L3 ได้
เนื่องจากความไม่แน่นอนของการแยกกลุ่มเซลล์
ตามรูปร่างลักษณะนี้เองทำให้การวินิจฉัยและจัดแบ่งชนิดย่อยของ ALL
จำเป็นต้องทำการตรวจ immunophenotyping ร่วมด้วยเสมอ

2. Immunophenotyping
ใน WHO classification ให้ความสำคัญในการจัดแบ่ง ALL
ออกตามลักษณะทาง immunophenotype อย่างสูงเนื่องจากสัมพันธ์กับอาการทางคลินิก
และพยากรณ์โรคค่อนข้างมากซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจในการรักษา
เมื่อทำการตรวจ immunophenotyping จะแยก ALL ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือB-cell ALL และ T-cell ALL
ประมาณร้อยละ 75 ของผู้ป่วย ALL ที่เป็นผู้ใหญ่อยู่ในกลุ่ม B-cell ALL immunophenotype marker ที่
แยก ALL กับ ANLL คือ TdT

ทั้งนี้ cell ที่อยู่ในสาย lymphoid มักจะตรวจพบ TdT ยกเว้นใน mature B-ALL ซึ่งอาจตรวจไม่พบได้
B-lineage markers ได้แก่ CD 19, CD 20, CD 22, CD 24 และ CD 79a
ส่วน T-cell ALL พบประมาณร้อยละ 25 T-lineage markers ได้แก่ CD2, CD3, CD1a, CD4, CD5, CD7 และ CD 8 การแยกชนิด ALL ตามผลการตรวจ immunophenotype

3. Cytogenetics/Molecular genetics
การตรวจ cytogenetics ควรทำในผู้ป่วย ALL ทุกรายเนื่องจากเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยพยากรณ์โรค
และมีความสำคัญในการตัดสินการรักษาผู้ป่วย ALL
ผู้ป่วย ALL (L2) ผู้ใหญ่ ที่มี CD 10+ หรือ pre-B ALL ประมาณร้อยละ 25-50
ตรวจพบPhiladelphia chromosome : t(9;22) ได้
ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีพยากรณ์โรคไม่ดี ใน ALL(L3) มักตรวจพบความผิดปกติ
ของ chromosome คู่ที่ 8 ร่วมด้วยเสมอ เช่น t(8;14)
พบประมาณร้อยละ 90, t(8;22) พบประมาณร้อยละ 10 เป็นต้น
ในผู้ป่วย ALL ที่เป็นผู้ใหญ่ตรวจพบ t(4;11) น้อยมากเพียงประมาณร้อยละ 3-4 เท่านั้น
ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของchromosome ชนิดนี้มักมีเม็ดเลือดขาวสูงมาก
และเกิดภาวะ hyperleukocytosis ร่วมด้วย เป็นปัจจัยพยากรณ์โรคที่ไม่ดี

No comments:

Post a Comment